วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การติดตา

การสร้างแปลงกิ่งตายาง

 กิ่งตายางเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการขยายพันธุ์ยาง.....  ด้วยวิธีการติดตา การปลูกสร้าแปลงกิ่งตายางมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดีที่สมบูรณ์ และถูกต้องตรงตามสายพันธุ์ เพื่อนำมาใช้ในการติดตาต้นกล้ายางให้ได้ตันยางพันธุ์ดีที่มีคุณภาพตามต้องการในการสร้างแปลงกิ่งตายางนั้นมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ 
                          การเลือกพื้นที่ การเลือกพื้นที่สร้างแปลงกิ่งตายาง นับว่ามีความสำคัญมากเพราะเป็นแปลงที่ถาวร เพื่อเก็บเกี่ยว
ผลผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดีมาใช้ทุกปี  ควรจะเป็นพื้นที่ราบ น้ำไม่ท่วมขัง อยู่ใกล้แหล่งน้ำ และมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก
                           การวางผังแปลงกิ่งตายาง ก่อนอื่นควรกำหนดพันธุ์ยางที่จะปลูกไว้ล่วงหน้าว่ามีพันธุ์อะไรบ้าง และแต่ละพันธุ์
                           ระยะปลูก ระยะปลูกที่นิยมปลูกกันมากที่สุดคือ ระยะ 1 x 2 เมตร ได้จำนวน 800 ต้น/ไร่ เพราะจะต้นแม่พันธุ์และได้กิ่งตาที่สมบูรณ์ และสะดวกในการกำจัดวัชพืชและการบำรุงรัษา
                           การบำรุงรักษาและการใช้ปุ๋ย สถาบันวิจัยาง(2542) ได้แนะนำปุ๋ยผสมบำรุงแปลงกิ่งตายางมี 2 สูตรคือ 20-8-20  ในเขตปลูกยางเดิม 20 -10-12 ในเขตปลูกยางใหม่ การใส่ปุ๋ยแต่ละสูตรควรใส่ตามอายุของต้นกิ่งตายางในสภาพต่างๆเช่น การ บำรุงรักษาในช่วง 1-2 ปี ก่อนตัดใช้ และ อายุ 2 ปีเมื่อมีการตัดกิ่งตาไปใช้
                        การใส่ปุ๋ยในช่วง 1-2 ปี แรก ใส่ตามอายุ ของต้นยาง คือ 2 , 4 และ  6 เดือน ควรใช้ปุ๋ยผสมสุตร 20-8-20 ในแหล่งปลูกยางเดิมสำหรับดินร่วนเหนียวอัตราครั้งละ  40 กิโลกรัมต่อไร่และดินร่วนปนทรายอัตราครั้งละ 60 กิโลกรัมต่อไร่ และสูตร 20-10-12 ในแหล่งปลูกยางใหม่ สำหรับดินทุกชนิด อัตราครั้งละ 30 กิโลกรัมต่อไร่
         

                       การใส่ปุ๋ยช่วงอายุ 2 ปี ขึ้นไป ให้ใส่ปุ๋ยทุกครั้งหลังจากตัดกิ่งตาไปใช้ และอีกหนึ่งครั้งหลังจากตัดล้างแปลงเพื่อเลี้ยงกิ่งกระโดงใหม่ โดยใช้ปุ๋ยผสมสูตร 20-8-20 ในแหล่งปลูกยางเดิม สำหรับดินร่วนเหนียวอัตรา ครั้งละ  40 กก./ไร่ และดินร่วนปนทรายอัตราครั้งละ 60 กก./ไร่ และสูตร 20-10-12 ในแหล่งปลูกยางใหม่ สำหรับดินทุกชนิด อัตราครั้งละ 30 กก./ไร่

 วิธีการตัดเลี้ยงกิ่งตายาง 
การตัดเลี้ยงในปีที่แรก
       1. เมื่อต้นยางอายุ  1 ปี หรือลำต้นมีเปลือกเป็นสีน้ำตาลสูงประมาณ 1 เมตร จะตัดกิ่งกระโดงไปใช้ได้เลยก็ได้ โดยตัดต้นที่ระดับความสูง 75 cm. จากพื้นดิน              
       2. ในกรณีที่จะผลิตเป็นกิ่งตาเขียว ให้ตัดยอดของฉัตรที่ 3 หรือ 4 กิ่งตาเขียว ให้ตัดยอดของฉัตรที่ 3 หรือ 4 ของกิ่งกระโดงทิ้ง เพื่อเลี้ยงกิ่งตาเขียวครั้งที่ 1 ปล่อยให้กิ่งแขนงออกมาบริเวณยอดฉัตรที่ยอด ตัดเลี้ยงไว้ 4-5 กิ่ง เมื่อกิ่งตามีใบแก่แล้วก็ตัดไปใช้ได้ พร้อมกันนี้ก็ตัดยอดฉัตรที่ต่ำลงมาทิ้ง เพื่อเลี้ยงกิ่งตาครั้งที่ 2 อีก ในปีหนึ่ง ๆ นั้น สามารถตัดเลี้ยงกิ่งตายางได้  3 ครั้ง เมื่อหมดฤดูกาลติดตาแล้ว ก็ตัดล้างแปลง โดยตัดที่ระดับความสูง 75 ซม. จากพื้นดิน
การตัดเลี้ยงในปีที่ 2
      1. หลังจากการตัดล้างแปลงในปีแรก จะมีกิ่งกระโดงแตกออกมาจากลำต้นหลายกิ่ง ให้เลือกเลี้ยงกิ่งกระโดงที่สมบูรณ์แข็งแรงไว้ 4 กระโดง/ต้น
     2. กิ่งกระโดงเจริญเติบโต 3-4 ฉัตร ให้ตัดยอดของฉัตรบนสุด เพื่อผลิตตาเขียวเหมือนกับปีแรกทุกประการ 
 การตัดเลี้ยงปีต่อๆไป
         เลือกเลี้ยงกิ่งกระโดงที่สมบูรณ์แข็งแรงไว้ 4 กระโดง/ต้น เพื่อผลิตกิ่งตาเขียว
  การตัดกิ่งตาไปใช้
                        1. กิ่งตาเขียวขนาด 1 ฉัตร ที่จะตัดไปใช้ต้องมีอายุการเลี้ยงนานประมาณ 5-8 สัปดาห์ หรือใบฉัตรบนแก่เต็มีที่
                       2. ตัดก้านใบบนกิ่งตาออกให้หมด  โดยพยายามตัดให้เหลือโคนก้านใบน้อยที่สุด
                       3.ปลายกิ่งตาทั้ง 2 ด้าน ควรจ่มด้วยขี้ผึ้ง เพื่อลดการคายน้ำออกจากกิ่งตา
                      4.กิ่งตาที่ตัดไว้แล้ว ควรนำไปใช้ให้เร็วที่สุด แต่ถ้าจำเป็นต้องเก็บกิ่งตายางไว้ข้ามวัน ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 3 วัน ควรเก็บในที่ร่มและมีความชื้นสูง
การคำนวนปริมาณการผลิตกิ่งตายาง
                   ต้นแม่พันธุ์ 1 ต้น เลี้ยงกิ่งกระโดง 1 กิ่ง และตัดเลี้ยงกิ่งตาเขียวปีละ 3 ครั้ง ๆ ละ 5 กิ่ง จะได้กิ่งตาจำนวน 15 กิ่ง/ต้น/ปี กิ่งตาที่สมบูรณ์ 1 กิ่งจะต้องมีตาสมบูรณ์ที่ใช้ได้ อย่างน้อย 2 ตา
                 ในการปลูกสร้างแปลงกิ่งตายางโดยใช้  ระยะปลูก 1 x 2 เมตร  จะได้จำนวนต้นทั้งหมด   800 ต้น/ไร่ และแต่ละต้นจะให้ผลผลิต ต้นละ 15 กิ่ง/ไร่/ปี เพราะฉะนั้นในพื้นที่ 1 ไร่จะผลิตได้ 12,000 กิ่ง/ไร่/ปี

การตัดแต่งกิ่ง

การใส่ปุ๋ยยางพารา

ลดต้นทุนการทำสวนยางพารา

   
       เห็นผลรวดเร็วหลังการใช้ ต้นยางสมบูรณ์แข็งแรง น้ำยางเพิ่มขึ้น แก้โรคยางตายนึ่ง ยืนต้นตาย ฯลฯ เพิ่มคุณภาพของผลผลิต และแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมของโรงงานยาง
การทำสวนยางพาราให้รวยด้วยโบกาฉิ
การทำสวนยางพาราแบบเกษตรธรรมชาติ เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนให้กับชาวสวนยางได้
ปุ๋ยโบกาฉิสูตรพิเศษโตตโต้ มีอาหารที่เป็นประโยชน์แก่พืชครบถ้วน อีกทั้งยังมุ่งเน้นการปรับปรุงโครงสร้างดิน เพราะมีจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพกว่า 80 ชนิด จึงสามารถปรับสภาพดินที่แข็ง แน่น ไม่ซึมน้ำ เป็นกรด หรือเค็มเกินไป ทำให้เห็นผลรวดเร็วหลังการใช้ พืชสมบูรณ์แข็งแรง และได้น้ำยางเพิ่มขึ้นในระยะยาว นอกจากนี้ สุขภาพของชาวสวนที่ทำเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ ก็ย่อมจะดีกว่าผู้ที่ใช้สารเคมีแน่นอนด้วยนะคะ
 
ผลจากการใช้ โตตโต้
  1. ใบร่วงช้า มีภูมิต้านทานดีขึ้น ต้นยางจะทนทานต่อสภาพฝนกรด รากเน่า โคนเน่า เสี้ยนดำ ต้นสมบูรณ์แข็งแรง ยืดอายุการกรีดยาง
  2. ผลผลิตน้ำยางเพิ่มปริมาณมากขึ้น หน้ายางไม่เป็นเชื้อรา เก็บรักษาได้นานขึ้น หน้ายางนิ่ม รักษาหน้ายาง
  3. ระบบรากดีขึ้น ทั้งรากฝอย รากขนอ่อน รากยางจะขึ้นมาบนผิวดินเห็นเป็นสีขาว ใต้ใบไม้ที่คลุมดิน เมื่อมีรากเพิ่มมากขึ้น ก็จะหาอาหารเก่งขึ้นต้นก็จะสมบูรณ์ขึ้น มีจุลินทรีย์กลุ่มดีกว่า 80 ชนิดลงไปทำงานในดิน ทำให้ดินดีขึ้น
  4. เพิ่มอินทรีย์วัตถุล้วนๆกว่า10ชนิด เพราะโบกาฉิโตตโต้ไม่มีดินผสม  พร้อมให้ธาตุอาหารครบถ้วน และจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย รากดูดไปใช้ได้ง่าย  ไม่ว่าจะใช้ปุ๋ยอะไรอยู่ก็สามารถปรับเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยโบกาฉิ (ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ) แทนหรือใช้เสริมไปด้วยกันได้ทันที
  5. ส่งเสริมให้มีจุลชีพในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดิน จะเห็นได้ชัดจากมูลไส้เดือนที่ขึ้นเต็มสวน แสดงว่ามีไส้เดือนและสิ่งมีชีวิตอื่นอีกมากมายอาศัยอยู่นั่นคือดินมีชีวิต โครงสร้างดินร่วนซุย อุ้มอาหารและน้ำ
  6. แก้ปัญหายางตายนึ่ง (ใส่โบกาฉิ และ ฉีดพ่นฮอร์โมนเดือนละ 2-3 ครั้ง)
  7. สภาพแวดล้อมโดยรวมดีขึ้น และกำจัดกลิ่นเหม็นในน้ำยางที่เททิ้ง คนงาน – เจ้าของสวนมีสุขภาพดีขึ้น
 
เตรียมหลุม / เตรียมดิน ก่อนปลูก แทนการใช้เคมี 
  1. ขุดหลุมขนาดตามความเหมาะสม ใส่ อินทรียวัตถุที่หาได้ง่าย เช่น ฟาง ใบไม้แห้ง มูลสัตว์ เศษอาหาร ฯลฯ 4-5 กำมือ (เพื่อลดต้นทุน และเป็นอาหารพืชในระยะยาว) หว่านปุ๋ยโบกาฉิสูตรรองพื้น 2 กำมือทับลงไป
  2. ใช้สารปรับปรุงดิน 1 กก. + สุโตจู้ S.T. สูตร4 500 ซีซี แช่น้ำ 200-500 ลิตร 1 คืน ฉีดพ่นบนวัสดุให้ทั่ว ข้อควรระวัง  เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด ควรใช้ถังที่สะอาด , ขณะเก็บปิดฝาให้สนิทและไม่ถูกความร้อน ควรใช้ให้หมดภายใน 1-2วัน * อัตราความเข้มข้นนี้ ห้ามฉีดพ่น ถูก ต้นและใบพืชที่ปลูก* ในการผสมสารปรับปรุงดินฉีดพ่น ควรเปิดหัวฉีดให้น้ำ ออกสะดวก อาจใช้สายยางฉีดโดยไม่ใส่หัวพ่นจะทำให้หัวพ่นไม่อุดตันเนื่องจากวัสดุหลายชนิด ในสารปรับปรุงดินจะต้องใช้เวลาในการย่อยสลายในแปลงปลูกพืช กากตะกอนในสารปรับปรุงดินเป็นอาหารพืช ใช้ผสมน้ำ แล้วรดราดในนา หรือ ใส่เป็นปุ๋ยให้พืช (สามารถใช้สารปรับปรุงดินและสุโตจู้อัตราส่วนนี้ ฉีดพ่นเพื่อนปรับสภาพดิน ปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้พืชเจริญเติบโตได้ดีด้วย ฉีดพ่นลงดินให้ทั่วพื้นที่เท่านั้น ห้ามโดนต้น-ใบพืชที่ปลูก)
  3. กลบดิน แล้วคลุมหลุมปลูกด้วยฟาง 7 วัน ( รดน้ำให้ดินชุ่มชื้นทุกวัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของจุลินทรีย์ ) จึงปลูกกล้าได้
 
หรือใช้วิธีการหมักหน้าดิน แนะนำสำหรับพื้นที่ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์เป็นดินดำมีอาหารอยู่มากและร่วนซุยอยู่แล้ว
  1. ใช้ไม้ปักทำเครื่องหมายตำแหน่งที่จะปลูก กำจัดวัชพืชรอบตำแหน่งด้วยการถากถาง
  2. หว่านปุ๋ยโบกาฉิ บริเวณรอบๆไม้ที่ปักให้กระจายทั่วๆรัศมี 1–2 ฟุต 1-2 กำมือ แล้วคลุมฟางหรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันหญ้าขึ้น
  3. ใช้สารปรับปรุงดิน 1 กก. + สุโตจู้ S.T. (สูตร4) 500 ซีซี  ผสมน้ำแช่ค้างคืน แล้วขยายเป็น 500 ลิตร (เหมือนข้อ1 ในวิธีเตรียมหลุมก่อนปลูก) รดบนวัสดุที่คลุมดิน ทิ้งไว้ 7-15 วันจึงปลูกยางได้ ในระหว่างรอปลูก ดินที่หมักควรมีความชื้นเสมอเพื่อให้จุลินทรีย์ทำงานได้
วิธีที่ดีที่สุด ทำให้พืชที่ปลูกแข็งแรงและโตเร็ว คือวิธีหมักหลุม แต่หากไม่สามารถทำได้ ให้ใส่ปุ๋ยรองก้อนหลุมสำหรับปลูก (โดยไม่หมักหลุม)ประมาณ 1 กำมือ กลบดินค่อนหลุม อัดดินให้แน่นแล้วจึงปลูกกล้า อย่าให้รากสัมผัสปุ๋ยโดยตรง จะทำให้สำลักปุ๋ย และเฉาตายได้
การใส่โบกาฉิ และใช้ฮอร์โมนรักษาหน้ายาง รวมทั้งป้องกันและรักษาโรค
  1. ยางพาราอายุ 1-3 ปี ใส่โบกาฉิ ปีละ 2-3 ครั้ง ครั้งละครึ่งกิโลกรัมสำหรับ 1 ต้น หว่านบางๆรอบทรงพุ่ม
  2. ต้นยางอายุขึ้นปีที่ 4 จนกระทั่งกรีดได้ ใส่โบกาฉิ ปีละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 1 กก. หรือมากกว่านั้น (ตามสภาพดิน)
  3. สวนยางที่กรีดได้แล้ว ใช้โบกาฉิปีละ 2-3 ครั้ง โดยเฉลี่ยต้นละ 1.5 กก. ใส่โบกาฉิในระยะก่อนใบยางจะร่วงผลัดใบ และ ช่วงฝนตก หว่านทั่วทั้งสวนหรือรอบทรงพุ่มก็ได้ “ใส่น้อยๆ แต่บ่อยครั้งดีกว่าใส่มากๆครั้งเดียว”
  4. ฉีดพ่น หรือทาหน้ายางสม่ำเสมอ ด้วยสุโตจู้ S.T.สูตร4 อัตราส่วน 20 ซีซี  ผสมน้ำ 20 ลิตร จะช่วยรักษาแผลให้หายเร็ว สะดวกสบายไม่ต้องใช้ดินทาหน้ายาง ไม่ต้องใช้ยากันรา หน้ายางจะไม่เป็นโรคการสร้างเนื้อเยื่อและสร้างเปลือกจะดีขึ้น แผลจะสวย
  5. บำรุงต้นยางและป้องกันโรค ฉีดพ่นอาหารพืช (สูตร1+สูตร3) และสุโตจู้ S.T. สูตร4 เดือนละ 1 ครั้ง โดยผสมอัตราส่วน   3 สูตรรวมกันเป็น 200ซีซี : น้ำ 200 ลิตร ฉีดได้ทุกพื้นที่ในสวนยาง หากต้นยางเป็นโรคอยู่ในเดือนแรกๆ ควรฉีดพ่นอย่างสม่ำเสมอเดือนละ 2-3ครั้ง โรคจะค่อยๆหายไป การใช้สุโตจู้ สูตร4 สม่ำเสมอจะช่วยป้องกัน และรักษาโรคทุกชนิดในสวนยาง เช่น โรคยางตายนึ่ง ยืนต้นตาย เสี้ยนดำ
  6. แช่ล้างแผ่นยางก่อนนำผึ่งแดด ใช้สุโตจู้ S.T. สูตร4 อัตราส่วน 20 ซีซี  ผสมน้ำ 20 ลิตร จะช่วยให้ยางไม่ขึ้นรา น้ำทิ้งซึ่งมีสุโตจู้ผสมอยู่เทลงในท้องร่อง จะช่วยปรับสภาพแวดล้อม และกำจัดกลิ่นเหม็นในน้ำยางที่เททิ้งด้วย หรือนำไปใช้ฉีดพ่นทุกพื้นที่ที่มีกลิ่นเหม็นเพื่อดับกลิ่นและฆ่าเชื้อโรคได้ด้วย

**คำเตือน วิธีผสมฮอร์โมนน้ำ สามารถปรับขึ้น/ลงได้ตามอัตราส่วน แต่ห้ามใช้เกินขนาดเพราะมีฤทธิ์เข้มข้นมาก ห้ามแถม (ใส่เกินอัตราส่วน)   
การกำจัดวัชพืช

วัชพืชที่มีปัญหากับสวนยาง  เช่น หญ้าคา ฯลฯ ก่อนปลูกควรปราบให้หมดชนิดขุดรากถอนโคน และอาจปลูกถั่วคลุมคา ป้องกันหญ้าขึ้นอีก นอกจากนั้นการกำจัดวัชพืชอื่นๆ ให้ใช้วิธีการตัดและฉีดพ่น สุโตจู้ สูตร4 และสารปรับปรุงดินแช่น้ำค้างคืน ฉีดพ่น ไม่ต้องเผาหญ้า ทิ้งหญ้าเหล่านั้นไว้คลุมดินในสวน บริเวณใต้ร่มยางให้เป็นอาหารหรือปุ๋ยของพืช

แต่ก่อนนี้ถั่วคลุมคาจะมีมากทางภาคใต้ แต่ปัจจุบันมีผู้นำไปปลูกเพื่อคลุมดินในสวนยางในจังหวัดอื่นๆ  ท่านใดทำสวนยางอยู่ที่ภาคอื่นๆ ก็ลองไปหามาปลูกกันได้ 
 
การเพิ่มคุณภาพยาง และ แก้ไขสภาพแวดล้อมของโรงงานยาง
  1. ฉีดพ่นอาหารพืชและสารไล่แมลง S.T. เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันโรคและแมลง โดยผสมอัตราส่วน 1 ลิตร : น้ำ 1000 ลิตร ฉีดได้ทุกพื้นที่ในสวนยาง
  2. นำ S.T. (ฝาเขียว) ผสมอัตราส่วน 1 ลิตร : น้ำ 1000 ลิตร แช่ล้างแผ่นยางก่อนนำผึ่งแดด จะช่วยให้ยางไม่ขึ้นรา น้ำทิ้งซึ่งมี S.T. ผสมอยู่เทลงในท้องร่อง จะช่วยปรับสภาพแวดล้อม และกำจัดกลิ่นเหม็นในน้ำยางที่เททิ้งด้วย
  3. ใช้ S.T. (ฝาเขียว) ผสมอัตราส่วน 1 ลิตร : น้ำ 1000 ลิตร ฉีดพ่นทุกพื้นที่ที่มีกลิ่นเหม็นเพื่อดับกลิ่น หรือฆ่าเชื้อโรคได้
  4.  กองขี้ยางที่มีกลิ่นมากใช้  S.T. 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 - 1000 ลิตร  ฉีดพ่นประมาณ 2 วัน / ครั้ง แล้วแต่ความรุนแรงของกลิ่น จะสามารถกำจัดกลิ่นได้ดี

การจัดการสวนยางพาราก่อนที่ต้นยางพาราจะให้ผลผลิตน้ำยาง

การจัดการสวนยางพาราก่อนให้ผลผลิต หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราเมื่อมีอายุ 1-2 ซึ่งสิ่งที่ยังมีสำคัญมากก็คือ เมื่อต้นยางตายก็ควรรีบทำการปลูกซ่อมทันทีที่ทำได้, กำจัดวัชพืช, ใส่ปุ๋ยบำรุง, หากไม่ปลูกพืชคลุมก็ควรทำการปลูกพืชแซมยาง, ดูแลและตัดแต่งกิ่งต้นยางก่อนเข้าหน้าแล้ง และเพื่อรักษาความชื้นในดินเมื่อเข้าสู่หน้าแล้ง ก็ควรคลุมโคนต้นยาง หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่านวัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ เมื่อต้นยางพาราอายุได้ 2 ปีเต็ม ควรมีขนาดเส้นรอบลำต้น 12-16 เซนติเมตร(ที่ความสูง 150 เซนติเมตรจากพื้นดิน)
  1. คอยหมั่นดูแล หากพบต้นยางพาราตายต้องรีบปลูกซ่อมด้วยยางชำถุง 2 ฉัตร แต่ถ้าสวนยางพารามีอายุมากกว่า 2 ปีไปแล้ว ไม่ควรปลูกซ่อม แต่ถ้าต้องการปลูกซ่อมจริง ๆ ก็อาจทำได้โดยใช้ต้นยางพาราที่มีขนาดใก้ลเคียสวนยางอายุ 2 ปี ปลูกกล้วย(น้ำหว้า)เป็นพืชแซม ส่งผลให้ต้นยางโตเร็วงกัน การปลูกซ่อมต้องกระทำก่อนฝนจะหมดไม่น้อยกว่า 2 เดือน
  2. ควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวต้นยางพาราเพื่อให้มีรายได้เสริมและเพื่อเป็นการคลุมดินไม่ให้มีวัชพืชโดยเฉพาะหน้าคา หากปล่อยให้พื้นดินได้รับแสงแดด จะมีปัญหาในเรื่องหญ้าคาอย่างแน่นอน
  3. หากไม่ปลูกพืชแซม ก็ต้องปลูกพืชคลุมดิน เพื่อคลุมวัชพืช และยังเป็นการสร้างหรือใส่ปุ๋ยลงในดินโดยไม่ต้องขนปุ๋ย ไม่ต้องหว่านปุ๋ย พืชคลุมจะทำให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
  4. หากต้องการปลูกไม้ป่าร่วมยาง ก็สามารถปลูกได้ ไม่เกิน 15 ต้น/ไร่ ตามระเบียบสำนักงานกองทุนสงเคราห์การทำสวนยาง(หากท่านขอรับทุนฯ)
  5. เมื่อต้นยางพาราอายุครบ 12, 15 และ 18 เดือน ให้กำจัดวัชพืชโดยการถาก แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็กสูตร 20-8-20 หรือสูตรใก้ลเคียง เช่น 20-10-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-6-5 หรือ 25-7-7 ตามอัตรา  สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ให้ใช้สูตร 20-10-12 ตามอัตรา (โดยไม่แยกชนิดของดิน)
  6. สำหรับเขตปลูกยางพาราใหม่ ในปีที่ 2-6  ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี
  7. วิธีการใส่ปุ๋ย ไม่ว่าจะเป็นที่ราบ, ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันไดหรือที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยโดยโรยรอบโคนต้นในรัศมีพุ่มใบพร้อมพรวนดิน
  8. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
  9. ควรทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ได้ทรงพุ่มที่ดี เพื่อให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตเร็ว และได้ไม้ที่มีขนาดความยาวตามที่โรงเลื่อยไม้ต้องการ ขนาด 2.4 เมตร การตัดแต่งกิ่งควรทำก่อนที่จะหมดฝน ไม่ควรตัดแต่งกิ่งในหน้าแล้ง
  10. เมื่อสวนยางพาราเข้าหน้าแล้ง ควรคลุมโคนต้นยางด้วยฟางข้าวหรือเศษวัสดุทางการเกษตรที่หาง่ายในท้องถิ่น โดยเว้นระยะจากโคนต้นยางไว้ 5-10 ซม. หากจะคลุมทังแถวเลยโดยคลุมเป็นแถบกว้างข้างละ 1 เมตรจากแนวต้นยาง ก็จะรักษาความชื้นในดินได้ดีกว่าคลุมเฉพาะโคนต้น แต่ต้องระวังเรื่องไฟไห้มที่อาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ  เช่น การทิ้งก้นบุหรี่ หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่านวัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ

การเตรียมดิน

สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกยาง
1. เป็นพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่ควรเกิน 600 เมตร
2. เป็นพื้นที่ราบหรือมี ความลาดเอียงต่ำกว่า 35 องศา ถ้าความ ลาดเอียงเกิน 15 องศา ต้องทำขั้นบันได และ ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อป้องกัน การชะล้างหน้าดิน
3. ไม่เป็นแหล่งที่มีน้ำท่วมขัง


ลักษณะดินที่เหมาะสม
1. เป็นดินร่วนเหนียวถึงดินร่วนทราย
2. เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์
3. หน้าดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร และไม่มีชั้นหินแข็งหรือดินดาน
4. ระดับน้ำใต้ดินต่ำกว่า 1 เมตร
5. การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศดี
6. มีค่าความเป็นกรด ด่าง ที่เหมาะสมประมาณ 4.5 - 5.5

การวางแนวปลูก

1.
การวางแนวปลูกในพื้นที่ราบ


วางแถวหลัก ห่างจากแนวเขตสวนไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร

เล็งแนวปลูก โดยกำหนด ให้แถวหลักขวาง ทางน้ำ ไหลลดการชะล้าง และพังทลายของดิน

ควรปลูกให้อยู่ในแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก ไม่ขวางทิศทางลม









2. การวางแนวปลูกในพื้นที่ลาดเท


วางแนวปลูกตาม ขั้นบันได ให้ความกว้าง ไม่ ต่ำกว่า 1.5 เมตร

ควรทำทางระบายน้ำเป็นระยะสลับกันไป

ขั้นบันไดล่าง ๆ ควรให้มีระยะของขั้นบันไดถี่ ๆ เพื่อ ลดความรุนแรง ของกระแสน้ำ














การวางแนวปลูก

พื้นที่ราบ
เขตปลูกยางเดิม
- ปลูกพื้ชแซมยาง ใช้ระยะปลูก 2.5 x 8 ม. (80 ต้นต่อไร่) หรือ 3 x 7 ม. (76 ต้นต่อไร่) ขึ้นอยู่กับ   ชนิดของพันธ์ยาง
- ไม่ปลูกพื้ชแซมยาง ใช้ระยะปลูก 4 x 5 ม. (80 ต้นต่อไร่) หรือ 3.5 x 6 ม. (76 ต้นต่อไร่) ขึ้นอยู่กับ   ชนิดของพันธ์ยาง
เขตปลูกยางใหม่
- ปลูกพื้ชแซมยาง ใช้ระยะปลูก 2.5 x 7 ม. (91 ต้นต่อไร่)
- ไม่ปลูกพื้ชแซมยาง ใช้ระยะปลูก 3 x 6 ม. (89 ต้นต่อไร่)


พื้นที่ลาดเทหรือพื้นที่ควนเขา - ใช้ระยะปลูก 3 x 8 ม. (67 ต้นต่อไร่)
การเตรียมหลุมปลูก




ไถพลิกและไถพรวนอย่างน้อย 2 ครั้ง พร้อมทั้งเก็บตอไม้ เศษไม้ และเศษวัชพืช ออกไห้หมด

ขุดหลุมขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ให้ขุดด้านใดด้านหนึ่ง ของไม้ ชะมบตลอดแนว โดยแยกดิน ที่ขุดเป็น 2 กอง คือ ดินชั้นบน และดินชั้นล่าง ผึ่งแดดไว้ประมาณ 10 วัน เพื่อให้ดินแห้ง

ย่อยดินชั้นบนใส่รองก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่าง ผสมกับปุ๋ยหิน ฟอสเฟต หลุมละ 170 กรัม ในแหล่งปลูกยางใหม่ควรใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ต้นละ 5 กก. รองก้นหลุมร่วมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต

การขุดหลุมในพื้นที่ลาดเทหรือควนเขา เมื่อปักไม้ ชะมบ แล้วควร ขุดหลุมเยื้อง ไปด้านในควนเล็กน้อย เมื่อปลูกยาง ไปแล้วอาจ ต้องแต่งชานเพิ่มเติม โดยขุดดินบนควนมากลบ ด้านนอก จะทำให้ต้นยางอยู่กลาง ขั้นบันไดพอดี

ค่าใช้จ่ายการปลูกย่างพารา

                   เตรียมเป็น "เถ้าแก่สวนยาง" ปลูก 1 ไร่ลงทุนเฉียดหมื่น (3/03/2554)
            ช่วงนี้ใคร ๆ ก็หันมาปลูกยางพารากันยกใหญ่เพราะ
ยางพาราราคาดี แต่ช้าก่อน การปลูกยางไม่ใช่แค่เรื่องราคาดีอย่างเดียว แล้วอยากจะปลูกได้ดั่งใจคิด แต่การ เลือกวัสดุ การเตรียมพื้นที่ปลูก วิธีการปลูก นับเป็นหัวใจสำคัญสำหรับ ผู้ที่อยากมีสวนยางเป็นของตนเอง

            สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า สิ่งสำคัญที่ผู้สนใจปลูกยางควรเรียนรู้คือ วิธีการปลูกยาง ประกอบด้วย "การปลูกด้วยต้นตอยาง" วิธีนี้ง่ายที่สุด แต่ไม่แนะนำสำหรับการปลูกยางในพื้นที่ปลูกยางใหม่ที่มีปริมาณน้ำฝนต่ำ ฉะนั้นการปลูกด้วย "ต้นตอตา" ควรปลูกในฤดูฝน

            วิธีการปลูกก็คือ ใช้เหล็กหรือไม้ปลายแหลมขนาดเล็กกว่าต้นตอตาที่ปลูกเล็กน้อย แทงบนหลุม ปลูกให้ลึกขนาดเกือบเท่าความยาวของรากแก้วต้นตอตา เสียบต้นตอตาตามร่องที่ แทงไว้ ให้แผ่นตาอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้

            จากนั้นใช้เหล็กหรือไม้อัดต้นตอตาให้แน่นที่สุด อย่าให้มีโพรงอากาศบริเวณรากเพราะจะทำให้รากเน่า แล้วค่อยกลบดิน หลังการปลูกควรพรวนดินบริเวณโคนต้นตอตาให้สูงเพื่อไม่ให้ต้นตอตาเน่า และควรใช้เศษฟางข้าวคลุมโคนต้นตอตายาง

            ถัดมาวิธีที่สองคือ "การปลูกด้วยต้นยางชำถุง" วิธีนี้เป็นวิธีที่ประสบผลสำเร็จสูง เพราะต้นยางจะเจริญเติบโตสม่ำเสมอ สามารถกรีดยางได้เร็วกว่าการปลูกด้วยต้นตอตาและการติดตา ในแปลง

            อีกวิธีคือ "การปลูกด้วยการติดตาในแปลง" วิธีนี้ต้นยางจะมีระบบรากแข็งแรง เติบโตสม่ำเสมอ ไม่ต้องขุดถอนย้ายปลูก ต้นยางเปิดกรีดได้ในระยะเวลาใกล้เคียงกับการปลูกโดยใช้ต้นตอตา

            ทว่าการปลูกด้วยการติดตาจะประสบผลสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นกล้ายาง, กิ่งตายาง และความสามารถของคนติดตา ซึ่งมีวิธีสำคัญ 3 อย่างคือ
            1) เตรียมพื้นที่ โดยไถพลิกดิน เก็บวัชพืชในพื้นที่ออกให้หมด ไถพรวนดินเพื่อให้ดินร่วนแล้ว ปักไม้ตามระยะปลูกที่กำหนด

            2) การขุดหลุมปลูก ควรขุดหลุมกว้าง x ยาว x ลึก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ดินที่ขุดควรแยกดินบนและดินล่างออกจากกัน ตากแดดไว้ 10-15 วัน เมื่อดินแห้ง ย่อยดินชั้นบนให้ร่วน ส่วนดินล่างเมื่อย่อยดีแล้วผสมกับปุ๋ยฟอสเฟตในอัตรา 170-200 กรัมต่อหลุ่ม แล้วใส่ไว้ด้านบน

            3) การปลูกเมล็ดยาง นำเมล็ดสดปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ระยะห่างระหว่างเมล็ด 25 ซ.ม. ให้ด้านแบนของเมล็ดคว่ำลง แต่ถ้าปลูกด้วยเมล็ดงอกให้วางด้านรากงอกของเมล็ดคว่ำลงแล้วกลบดินให้มิดเมล็ด และ 4) การติดตายาง เมื่อต้นกล้ายางอายุ 6-8 เดือน จึงติดตายางพันธุ์ที่ต้องการปลูก

            วันนี้ใครที่คิดจะปลูกยางต้องมีเงินทุนในกระเป๋าพอสมควร เพราะปัจจัยการผลิตสูงขึ้นกว่าเดิมเท่าตัว ปัจจุบันการปลูกยางในปีแรกจะต้องใช้เงินลงทุนขั้นต่ำประมาณไร่ละ 9,000-10,000 บาท หากมีที่ดิน 5 ไร่ ต้องมี เงินทุนสำรองครึ่งแสน

          ต้นทุนการปลูกยางพารา ประกอบด้วย
            1) ค่าพันธุ์ยาง (ยางชำถุง) ใช้ 80-90 ต้น/ไร่ ปัจจุบันราคาเคลื่อนไหวอยู่ที่ต้นละ 35-55 บาท หากคิดราคาต้นละ 50 บาท ต้นทุนกล้ายางเฉลี่ยประมาณ 4,000 บาท

            2) ค่าปรับพื้นที่ 3,500 บาท/ไร่ ค่าไถพรวนดิน 400-750 บาท/ไร่ 3) ค่าขุดหลุมปลูกยางต้นละ 5 บาท จำนวน 80 หลุม รวม 400 บาท/ไร่ 4) ค่าแรงงาน 250 บาท/ไร่ 5) ค่าปุ๋ยรองก้นหลุม 60-70 บาท/ไร่ 6) ค่าปุ๋ยบำรุง 500-700 บาท/ไร่ และ 7) สารเคมี 250 บาท/ไร่ และบางพื้นที่ต้องลงทุนระบบน้ำด้วย

            สำหรับในปีที่ 2 ค่าปุ๋ยบำรุงประมาณ 1,000 บาท ค่าแรง 250 บาท/ไร่ ค่าสารเคมี 250 บาท ส่วนปีที่ 3-7 ค่าปุ๋ยบำรุงจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2,000 บาท/ไร่ นอกจากนี้ยังต้องระวังปัญหาสภาพอากาศที่แปรปรวน ทั้งน้ำท่วมและ ภัยแล้งที่จะมาคู่กับโรคเชื้อราและ เพลี้ยไฟอีกด้วย

            โดยทั่วไปยางพาราที่เติบโตดีจะสามารถเปิดกรีดได้เมื่ออายุประมาณ 7 ปี หากใครใจร้อนเปิดกรีดเร็วเกินไปอายุยางจะสั้นลงและให้น้ำยางไม่เต็มที่ ส่วนใหญ่ยางมีอายุประมาณ 20-25 ปี

            นี่คือหัวใจสำคัญของการก้าวไปเป็นเถ้าแก่สวนยางมือใหม่

การวางแนวเพื่อปลูกยางพารา

         สิ่งแรกที่ต้องทำในการวางแนวแถวยาง ก็คือการกำหนดแถวแรกหรือแถวหลัก หลักสำคัญที่ต้องพิจารณาก็คือแถวหลักควรอยู่ในแนวทิศตะวันออก-ตก(เพื่อให้การรับแสงมีประสิทธิภาพ) หากเป็นไปได้ก็ควรให้ขวางทางน้ำไหลเพื่อลดการกัดเซาะและพัดพาปุ๋ยและหน้าดิน แถวหลักควรห่างจากเขตแดนของที่ดิน 1.5 เมตร หากอยู่ติดกับสวนยางใหญ่ก็ต้องขุดคูกว้างประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลึก 50 เซ็นติเมตร เพื่อป้องกันการแย่งอาหารหรือลดการแพร่ระบาดของโรคราก จากนั้น จึงทำการวางแนวปลูกพร้อมปักไม้ชะมบตามระยะที่กำหนด หากสวนยางอยู่บนพื้นที่ลาดเทตั้งแต่ 15 องศา ขึ้นไป ต้องวางแนวปลูกตามแนวระดับ และต้องทำขั้นบันไดกว้าง 2 เมตร ด้วย

การวางแนวเพื่อการปลูกยางพารา

                                                   

                                               

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกยาง และทำให้ยางมีคุณภาพสูง

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกยาง และทำให้ยางมีคุณภาพสูง
ยางพาราจะสามารถปลูกได้และให้ผลดีถ้ามีสภาพแวดล้อมลางประการที่ เหมาะสมดังนี้
1. พื้นที่ปลูกยาง
ไม่ควรอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเกิน 200 เมตร และไม่ควรมีความลาดเทเกิน 45 องศา หากจะปลูกยางในพื้นที่ที่มีความลาดเทเกิน 15 องศาขึ้นไป ควรปลูกแบบขั้นบันได
2. ดิน
ควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร โดยไม่มีชั้นของหินแข็งหรือดินดาน ซึ่งจะขัดขวางการเจริญเติบโตของราก เนื้อดินควรเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีการระบายน้ำ และอากาศดี น้ำไม่ท่วมขัง ระดับน้ำใต้ดินลึกกว่า 1 เมตร ไม่เป็นดินเค็มและมีความเป็นกรดเป็นด่าง 4.0-5.5
3. น้ำฝน
มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,350 มิลลิเมตรต่อปี และมีฝนตกไม่น้อยกว่า 120 วันต่อปี
4. ความชื้นสัมพันธ์
เฉลี่ยตลอดปีไม่น้อยกว่า 65 เปอร์เซ็นต์
5. อุณหภูมิ
เฉลี่ยตลอดปีไม่แตกต่างกันมากนัก ควรมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 24-27 องศาเซลเซียส
6. ความเร็วลม
เฉลี่ยตลอดปีไม่เกิน 1 เมตรต่อวินาที
7. แหล่งความรู้
ควรมีแหล่งความรู้เรื่องยางไว้ให้บริการแก่เกษตรกรในพื้นที่ด้วย

การขยายพันธุ์ยางพารา

การขยายพันธุ์ยางพารา

การขยายพันธุ์ยางสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น  การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด  ใช้วิธีการติดตาเขียว  ติดตาสีน้ำตาลเป็นต้น 

การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด (แบบอาศัยเพศ)
                ปัจจุบันในประเทศไทยไม่นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้  ทั้งนี้เพราะไม่มีสวนยาง สำหรับเก็บเมล็ดโดยตรงประการหนึ่ง  และอีกประการหนึ่งคือ  เมล็ดยางที่นำไปปลูกมีการกลายพันธุ์มาก  ดังนั้น  เมล็ดยางนี้จึงนิยมนำไปใช้เพาะเป็นต้นกล้า  เพื่อใช้ในการทำเป็น ต้นตอ  (Stock)  สำหรับติดตาต่อไป

การขยายพันธุ์โดยวิธีการติดตา (แบบไม่อาศัยเพศ)
                แบ่งออกเป็นการ ติดตาเขียว  และการ ติดตาสีน้ำตาล  แต่ส่วนใหญ่นิยมติดตาเขียวมากกว่า  เพราะการติดตาเขียวทำได้ง่าย  สะดวก  รวดเร็ว  มีเปอร์เซ็นต์การติดสูงมากกว่า  90%  ฉะนั้น  ในที่นี้จึงขอกล่าวเฉพาะวิธีการติดตาเขียว  เท่านั้น

 การขยายพันธุ์โดยวิธีติดตาเขียวนั้น  มีขั้นตอนสำคัญ  ดังนี้
1.       การสร้างแปลงกล้ายาง
2.       การสร้างแปลงกิ่งตายาง
3.       วิธีการติดตาเขียว
4.       การปักชำ
การสร้างแปลงกล้ายาง
                แปลงกล้ายาง  เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้การขยายพันธุ์โดยการติดตาประสบผลสำเร็จ  เพราะการติดตาจะได้ผลดีหรือไม่นั้น  นอกจากขึ้นอยู่กับสภาพของกิ่งตาและความชำนาญในการปฏิบัติ (ติดตา)  แล้ว  ยังขึ้นอยู่กับสภาพของต้นกล้าด้วย
                การเลือกที่สำหรับสร้างแปลงกล้า  ควรยึดหลักพิจารณาสภาพพื้นที่  ดังนี้
                1.  ควรเป็นที่ราบ
                2.  ดินร่วน  มีความอุดมสมบูรณ์  และมีการระบายน้ำดี
                3.  อยู่ใกล้แหล่งน้ำและมีการคมนาคมสะดวก

การเตรียมดิน
ควรไถพลิกดิน  2  ครั้ง  หลังจากนั้นทำการไถพรวนอีก  1 2  ครั้งแล้วแต่ความเหมาะสม  เพื่อให้พื้นที่เรียบสม่ำเสมอ  ในขณะเดียวกันควรเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลงปลูกให้หมด  ในการไถพรวนครั้งสุดท้ายควรหว่านปุ๋ยร็อคฟอสเฟต  (0-3-0)  100  กก.  และแมกนีเซียมไลม์สโตน (Magnesium  limestone)  40  กก.  ต่อพื้นที่  1  ไร่  ดินในประเทศไทย  ถ้าปลูกกล้ายางหลายๆ ครั้งซ้ำในที่เดียวกัน  กล้ายาง  มักจะแสดงอาการขาดแมกนีเซียมขึ้น  โดยจะแสดงอาการสีเขียมเข้มบริเวณเส้นใบ  ส่วนแผ่นใบตรงกลางระหว่างเส้นใบจะมีสีซีดเหลืองหรือขาว  โดยจะแสดงอาการหลังจากยางงอกแล้วประมาณ  2 3  เดือน  ฉะนั้นการใส่แมกนีเซียมไลม์สโตนจึงมีความจำเป็นมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแปลงกล้าที่เกิดอาการขาดแมกนีเซียมแล้ว ก่อนเพาะต้นกล้าใหม่ต้องใส่แมกนีเซียมไลม์สโตนทุกครั้ง

การปลูก
สามารถปลูกได้หลายวิธีทั้งจากเมล็ดสด  เมล็ดงอก  ต้นกล้า  2  ใบ  และต้นกล้าสีน้ำตาล  แต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ  เมล็ดงอกและเมล็ดสด
                                                                   
ไม่แนะนำให้เกษตรกรเจ้าของสวนยางขนาดเล็กใช้เมล็ดสดสร้างแปลงกล้ายาง  เนื่องจากสิ้นเปลืองเมล็ดยางมาก  แต่ถ้าทำเป็นการค้าหรือทำเป็นแปลงขนาดใหญ่ๆ  การใช้เมล็ดสดสร้างแปลงกล้ายางจะสะดวกกว่า  ทุ่นแรงงาน  และทุ่นเวลากว่าการใช้เมล็ดงอกมาก  ส่วนต้นกล้า  2  ใบ  จะใช้เฉพาะการปลูกซ่อมเมื่อเมล็ดหมดเท่านั้น  สำหรับกล้าสีน้ำตาลไม่นิยมใช้กัน
ข้อดีของการสร้างแปลงกล้ายางโดยใช้เมล็ดงอกหรือเมล็ดสด  คือ
                1.  ไม่เกิดความเสียหายต่อระบบรากอันอาจจะเป็นผลกระทบถึงการเจริญเติบโตของต้นกล้ายาง
                2.  เมล็ดยางมีอาหารสะสมอยู่ภายในอย่างเพียงพอที่จะทำให้ต้นยางเจริญเติบโตและแข็งแรง
                3.  ต้นกล้ายางเจริญเติบโตสม่ำเสมอกัน
                4.  เมื่อนำเมล็ดไปปลูกในแปลงจะมีความเสียหายน้อยมาก
                5.  ต้นกล้ายางโตเร็ว  ทำให้สามารถติดตาได้เร็ว  มีผลต่อเนื่องทำให้ต้นยางโตได้ขนาดกรีดเร็วขึ้น
ระยะปลูก
                ระยะปลูกสำหรับแปลงกล้าที่เหมาะสมคือ  ระยะระหว่างต้น  15  ซม.  และ  ระยะระหว่างแถว  70  ซม.  การปลูกแบบนี้  1  ไร่  จะได้ต้นยางประมาณ  15,000  ต้น  แต่ถ้าปลูกแบบคู่โดยใช้ระยะระหว่างต้น  ระหว่างแถว  และระหว่างแถวคู่  20 x 30 x 60  ซม.  ในเนื้อที่  1  ไร่  จะปลูกยางได้ประมาณ  16,000  ต้น

                                
วิธีปลูก
                1.  โดยใช้เมล็ดสดปลูก  วิธีนี้ใช้เมล็ดยางที่เก็บได้จากสวน  ไปปลูกในแปลงที่เตรียมไว้โดยตรงโดยใช้เมล็ดสดเรียงเป็นแถว  ตามแนวที่ได้เตรียมไว้แล้ว  พยายามให้ด้านแบนของเมล็ดคว่ำลงให้มากที่สุด  กดเมล็ดให้จมลงในดินเล็กน้อย  กลบดินบางๆก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการปลูก  ซึ่งง่ายและสะดวกกว่าการปลูกด้วยเมล็ดงอกมาก  แต่มีข้อเสียคือ  ต้นยางโตไม่สม่ำเสมอ  และต้องติดตาหลายรอบ
                        2.  โดยใช้เมล็ดงอกปลูก  วิธีนี้ยุ่งยากกว่าวิธีการใช้เมล็ดสดปลูก  เพราะต้องนำเมล็ดยางสดมาเพาะในแปลงเพาะเสียก่อน  จากนั้นจึงค่อยๆ คัดเลือกเมล็ดที่งอกแล้วไปปลูกในแปลงกล้าต่อไป  แต่ผลที่ได้คือต้นยางที่มีขนาดสม่ำเสมอ  ทำให้สะดวกในการติดตา  การเพาะเมล็ดทำได้โดย
                                2.1  เลือกทำเลสำหรับเพาะเมล็ด  ซึ่งวิธีการเลือกพื้นที่เพาะเมล็ดนั้น  ยึดหลักเดียวกันกับการเลือกพื้นที่สร้างแปลงกล้ายาง
                                2.2  เตรียมแปลงเพาะเมล็ด  โดย
                                                1.  ขุดดินให้ลึกประมาณ  20  ซม.
                                                2.  พรวน  และเก็บเศษวัชพืช  รากไม้ ฯลฯ  ออกให้หมด
                                                3. ยกแปลงกว้าง  1  เมตร  สูง  15 20  ซม.  ยาวตามความเหมาะสม
                                4.  ใส่ทรายหรือขี้เลื่อยลงไปบนแปลง  เกลี่ยให้เรียบเสมอกัน
                                แปลงเพาะอาจจะทำในระหว่างแถวยางใหญ่ก็ได้  และไม่จำเป็นต้องทำร่มกันแดดให้แปลงเพาะ  แต่ถ้าทำในที่โล่งแจ้งจะต้องทำเพิงคลุมแปลงเพาะให้ร่ม
                                2.3 เลือกเมล็ดสำหรับเพาะ เพื่อให้ได้เมล็ดที่สมบูรณ์และมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง  ควรเก็บเมล็ดยางจากต้นยางที่สมบูรณ์และเลือกเก็บเมล็ดที่หล่นจากต้นใหม่ๆ  รีบนำไปเพาะทันที  เพราะเมล็ดยางจะมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงมากหลังจากร่วงหล่นมาใหม่ๆ  เท่านั้น  หลังจากนั้นเปอร์เซ็นต์ความงอกจะลดลงทุกวัน  วันละ  4 5 %
                                2.4  วิธีเพาะ
                                                - จัดเรียงเมล็ดบนแปลงเพาะโดยเกลี่ยให้สม่ำเสมอ  คว่ำเมล็ดยางเอาด้านแบนลงและกดเบาๆ  ให้ทรายหรือขี้เลื่อยกลบทับแปลงเพาะ  1  ตารางเมตร  จะใช้เมล็ดประมาณ 1,000  เมล็ด
                                                -  รดน้ำทุกวัน  เช้า เย็น
                                2.5  การเก็บเมล็ดงอก
                                                -  หลังจากเพาะประมาณ  5  วัน  เมล็ดจะเริ่มงอกโดยมีปุ่มรากสีขาวโผล่ออกมา
                                                -  ตรวจเก็บเมล็ดงอกทุกวัน  เพื่อนำไปปลูก  เมล็ดงอกที่เหมาะสมที่จะนำไปปลูกควรมีรากโผล่ออกมาขนาดเท่าหัวไม้ขีด
                                                -  เมื่อเก็บเมล็ดงอกในแต่ละวันหมดแล้ว  รดน้ำเมล็ดที่เหลือในแปลงเพาะเช่นเดิมเพื่อช่วยให้เมล็ดที่เหลืออยู่งอกต่อไป
                                                -  เมล็ดที่ไม่งอกหลังจากเพาะไปแล้ว  14  วัน  ให้ตัดทิ้งให้หมด  เพาะเมล็ดที่งอกหลังจากนี้  จะเป็นกล้าที่ไม่สมบูรณ์  เจริญเติบโตช้าและไม่แข็งแรง
                                     2.6  วิธีปลูก
                                                วิธีปลูกที่ง่ายและสะดวก  ควรใช้เชือกที่ทำเครื่องหมายระยะปลูกระหว่างต้นไว้แล้วขึงตลอดแนวความยาวของแถวปลูก  จากนั้นใช้ไม้สักหลุมลึกประมาณ  3  ซม.  ตามเครื่องหมายที่ทำไว้บนเชือก  วางเมล็ดงอกที่เก็บได้ลงตามหลุมที่สักไว้โดยให้ด้านแบนของเมล็ดคว่ำลง  กลบดินบางๆ  พอมิดเมล็ด  เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการปลูก
การบำรุงรักษาแปลงกล้ายาง
                แปลงกล้ายางควรมีการบำรุงรักษาอย่างดี  เพื่อที่จะได้กล้ายางที่เจริญเติบโตแข็งแรงและสมบูรณ์เต็มที่  การบำรุงรักษาแปลงกล้ายางควรปฏิบัติ  ดังนี้
                1.  การกำจัดวัชพืช
                                การกำจัดวัชพืชในแปลงกล้ายางนิยมใช้สารเคมี  เพราะสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายดีกว่าใช้แรงคน  โดยจะทำประมาณ  4  ครั้ง  คือ
                                ครั้งที่ 1  หลังปลูกเสร็จทำการกำจัดวัชพืชก่อนงอกโดยใช้ไลนูรอน (Linuron)  250  กรัม (เนื้อสารเคมีบริสุทธิ์)  ผสมน้ำ  80  ลิตรต่อไร่
                                ครั้งที่ 2  หลังปลูก  6 8  สัปดาห์  ถากวัชพืชออกให้หมด  แล้วพ่นด้วยไดยูรอน (Diuron)  120  กรัม (เนื้อสารเคมีบริสุทธิ์)  ผสมน้ำ  50  ลิตรต่อไร่
                                ครั้งที่ เมื่อต้นกล้ายางอายุ 4 เดือน ถากพืชออกให้หมด แล้วพ่นตามด้วยไดยูรอน (Diuron) 120 กรัม (เนื้อสารเคมีบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อไร่
                                ครั้งที่ 4  ก่อนติดตา ใช้พาราควอท (Paraquat)  60  กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์)  ผสมน้ำ 50-60 ลิตรต่อไร่
                นอกจากการใช้สารเคมีแล้ว  อาจใช้วัสดุคลุมดิน เช่น  ฟางข้าว หญ้าแห้ง ฯลฯ  สามารถช่วยป้องกันกำจัดวัชพืชได้เป็นอย่างดีและยังช่วยเก็บรักษาความชื้นในดินได้อีกด้วย
                2.   การใส่ปุ๋ย
                                หลังจากที่กล้ายางตั้งตัวได้แล้วจะต้องใส่ปุ๋ยเป็นระยะ เพื่อให้กล้ายางแข็งแรง และเจริญเติบโตเร็ว ปุ๋ยที่ใช้สำหรับแปลงกล้ายางคือ ปุ๋ยสูตร (20-8-20) สำหรับกล้ายางที่ปลูกในเขตปลูกยางเดิมและปุ๋ยสูตร (20-10-12) สำหรับกล้ายางที่ปลูกในเขตปลูกยางใหม่ โดยใส่  4  ครั้ง เมื่อยางมีอายุ 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน และก่อนติดตา 1 เดือน โดยใส่ครั้งละ 36  กก.ต่อไร่
                                -  กำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง
                                - การใส่ปุ๋ย 2 ครั้งแรก ให้หว่านเป็นแถบกว้างประมาณ 8 ซม. ตลอดแถวยาง
                                - การใส่ปุ๋ย 2 ครั้งหลัง หว่านให้ทั่วแปลง แต่อย่าหว่านให้ถูกใบอ่อนของต้นยาง
                3.   การคัดต้นที่เลวทิ้ง
                                สำคัญมากเพราะถ้าปล่อยต้นที่มีลักษณะไม่ดี เช่น คดงอหรือแคระ แกรนไว้ ต้นเหล่านี้จะแย่งอาหารต้นกล้ายางที่สมบูรณ์ เพราะถ้านำไปทำเป็นต้นตอและติดตาด้วยยางพันธุ์ดี ยางพันธุ์ดีที่ติดตาแล้วก็จะเจริญเติบโตช้า ไม่สมบูรณ์แข็งแรงเหมือนต้นอื่นเนื่องจากต้นตอไม่สมบูรณ์นั่นเองการคัดเลือกต้นที่มีรากคดงอ และต้นแคระแกรนทิ้งในแปลงที่ปลูกแบบเรียงเมล็ด จะเริ่มคัดตั้งแต่กล้ายางงอก 2 ใบ เรื่อยไปจนถึงระยะติดตาทีเดียว
                                                                                                                                                วิธีการคัดโดยการหมั่นตรวจดูแปลงกล้าเสมอ ๆ ถ้าพบต้นใดที่มีลักษณะไม่ดีแคระแกรนต้นหรือรากคดงอ ให้ถอนทิ้ง สำหรับต้นที่มีรากคดงอนั้นอาจเห็นไม้ชัด แต่มีวิธีสังเกตคือลองเอามือดึงต้นกล้ายางดู ถ้าต้นไหนรากคดงอเวลาดึงจะรู้สึกหยุ่นๆ คล้ายมีสปริงให้ถอนทิ้งเสีย
                4.   การรดน้ำ
                                มีความจำเป็นมากในระยะแรกที่เริ่มปลูกยาง แต่เมื่อยางงอกและตั้งตัวได้แล้ว การรดน้ำอาจไม่จำเป็น ยกเว้นกรณีที่ทำเป็นการค้า และต้องการเร่งให้ต้นกล้ายางเจริญเติบโตเร็ว เพื่อให้ติดตาได้เร็วขึ้น จำเป็นต้องรดน้ำแปลงกล้ายางอย่างสม่ำเสมอทุกวัน
ลักษณะของต้นกล้ายางที่ดี
                1.  เป็นต้นกล้าที่สมบูรณ์ เปลือกลอกง่าย
                2.  มี่อายุประมาณ 4 เดือนครึ่งถึง 8 เดือน
                3.  มีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 1-1.2 ซม. (วัดที่ความสูงจากพื้นดิน 10 ซม.)
                4.  ลำต้นตรง รากไม่คดงอ

การสร้างแปลงกิ่งตายาง  (กิ่งตาเขียว)              
    กิ่งตาเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่สำคัญในการติดตากิ่งตาที่เจริญเติบโตสมบูรณ์ดีจะช่วยในการติดตาประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น  ตามปกติเกษตรกรเจ้าของสวนยางขนาดเล็กจะไม่สร้างแปลงกิ่งตาไว้ใช้เอง แต่จะหาซื้อกิ่งตาจากแปลงกิ่งตาของทางราชการหรือของเอกชนที่เชื่อถือได้มาไว้ใช้ในการติดตาเมื่อต้องการติดตาเท่านั้น  เกษตรกรรายใหญ่หรือเกษตรกรที่ประกอบอาชีพผลิตพันธุ์ยางขายเท่านั้นที่จะทำแปลงกิ่งตาไว้ใช้เอง ซึ่งวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ของผู้สร้างแปลงกิ่งตาก็คือ เพื่อผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดีไว้จำหน่าย และเพื่อลดต้นทุนในการผลิตต้นพันธุ์ยางชนิดอื่น เช่น ต้นตอตา หรือต้นยางชำถุงให้ต่ำลง
                การเลือกทำเลและการเตรียมพื้นที่สำหรับทำแปลงกิ่งตายาง มีหลักในการพิจารณาและวิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับการเลือกทำและการเตรียมพื้นที่สำหรับทำแปลงกล้ายาง แต่ระยะปลูกจะใช้ระยะ 1x2 เมตร ซึ่ง 1 ไร่จะปลูกยางได้ประมาณ 800 ต้น หรือจะใช้ระยะปลูก 1.5 x1.5  เมตรก็ได้ถ้าใช้ระยะนี้ 1 ไร่ จะปลูกยางได้ประมาณ 700  ต้น  ส่วนการเตรียมหลุมและการปลูกนั้นปฏิบัติเช่นเดียวกันกับการปลูกสร้างสวนยางทุกประการ
การบำรุงรักษาแปลงกิ่งตา
                หลังจากปลูกยางเรียบร้อยแล้วต้องบำรุงรักษาแปลงกิ่งตาอย่างดีเพื่อให้ได้กิ่งตาที่สมบูรณ์และจะประโยชน์ได้มากที่สุด หลักปฏิบัติในการบำรุงรักษาแปลงกิ่งตามีดังนี้
1.การกำจัดวัชพืช
                             ในแปลงที่ปลูกด้วยต้นตอตา และต้นยางชำถุง ควรถางด้วยแรงคนในระยะแรกแล้วฉีดตามด้วยไดยูรอน (Diuaon) อัตรา 120 กรัม (เนื้อสารเคมี
                บริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการปราบวัชพืชได้มาก   
หลังจากปราบวัชพืชครั้งแรกแล้วประมาณ 2 เดือน  โคนต้นยางจะเริ่มเป็นสีน้ำตาลหากมีหญ้าขึ้นสามารถใช้พาราควอท  (Paraquat)  60  กรัม (เนื้อ
สารเคมีบริสุทธิ์)  ผสมน้ำ  50-60  ลิตรต่อไร่  ฉีดพ่นได้ สำหรับในช่วงที่มีการตัดแต่งกิ่ง ควรใช้ เอ็ม เอส เอ็ม เอ (
MSMA หรือ  Monosodium Acid Methane)  ในอัตรา  250  กรัม (เนื้อสารเคมีบริสุทธิ์)  ผสมกับ  ไดยูรอน (Diuron)   ในอัตรา  60  กรัม  (เนื้อสารเคมีบริสุทธิ์)  ผสมน้ำ 50-60  ลิตรต่อไร่ ฉีดทำลายวัชพืชหลังจากตัดกิ่งตาไปใช้แล้ว         ส่วนสารเคมีพวก 2,4-ดี อะมีน (2,4-D Amine) และดาลาพอน (Dalapon) ไม่เหมาะสมที่จะใช้ปราบพืชในแปลงกล้ายาง เพราะตัวอะมีน (Amine) อาจทำอันตรายต่อต้นยางอ่อน ส่วนดาลาพอน (Dalapon) ก็อาจมีพิษสะสมตกค้างอยู่ในต้นยาง  ซึ่งจะ
เป็นอันตรายต่อต้นยางในแปลงที่ปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลงในระยะก่อนติดตาการกำจัดวัชพืชทำเช่นเดียวกับแปลงกล้ายาง หลังจากติดตาเรียบร้อยแล้วจึงทำการกำจัดวัชพืชตามวิธีที่กล่าวแล้วข้างต้นต่อไป
2. การใส่ปุ๋ย

                ถ้าปลูกด้วยต้นตอตาหรือต้นยางชำถุงเมื่อปลูกแล้วสามารถใส่ปุ๋ยครั้งแรกได้ทันทีเลย และใส่ปุ๋ยครั้งต่อไปเมื่อแตกฉัตรที่สองแล้ว และใส่อีกทุกครั้งหลังจากที่ตัดแต่งกิ่งแล้ว โดยใส่ปุ๋ยสูตร (20-8-20) หรือสูตร (20-10-12) แล้วแต่เขตปลูกยาง ในอัตรา 36 กก.ต่อไร่   ถ้าปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลง การใส่ปุ๋ยในระยะก่อนติดตากระทำเช่นเดียวกับการใส่ปุ๋ยแปลงกล้ายาง หลังจากติดตาแล้วจึงใส่ปุ๋ยเช่นเดียวกับการปลูกด้วยต้นตอตา
3.วิธีเลี้ยงกิ่งตาเขียว
-     ในช่วงแรกหลังจากปลูก ปล่อยให้ต้นยางเจริญเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งลำต้นเป็นสีน้ำตาลประมาณ 1 เมตร

-          ตัดยอดของฉัตรที่ 3 ออก โดยไม่ปล่อยให้เจริญเป็นฉัตรที่ 4 วิธีตัดจะตัดที่ ปลายยอดใต้ตุ่มตาซึ่งจะทำให้กิ่งแขนงที่แตกออกมาจากตาก้านใบสมบูรณ์
-          หลังจากตัดยอดฉัตรที่ 3 แล้ว จะมีกิ่งแขนงแตกออกมาบริเวณยอดฉัตรที่ 3 มากตัดแขนงที่ไม่สมบูรณ์ออก เหลือไว้เฉพาะกิ่งแขนงที่แข็งแรงประมาณ 4 กิ่ง
-          เลี้ยงกิ่งแขนงเหล่านี้ไว้ประมาณ 45-50 วัน ก็สามารถตัดไปใช้ติดตาเขียวได้ การตัดไปใช้ควรตัดในช่วงที่กิ่งตามีใบแก่เต็มที่ และกำลังเริ่มแตกปุ่มตาของฉัตรต่อไปซึ่งช่วงนี้กิ่งตาจะลอกง่าย
-          หลังจากตัดกิ่งตาเขียวครั้งแรกไปแล้ว ให้ตัดฉัตรที่ 3 ทิ้งไป โดยตัดเหนือ  ฉัตรที่ 2 ปล่อยให้กิ่งแขนงแตกออกมาอีก เลือกเลี้ยงเฉพาะกิ่งที่สมบูรณ์ไว้อีกประมาณ 45-50 วันก็ตัดไปใช้ได้
-          จากนั้นทำเช่นเดิมอีก โดนฉัตรที่ 2 ทิ้งเหนือฉัตรแรกเล็กน้อย ปล่อยให้ตาจากฉัตรแรกแตกแขนงเป็นกิ่งออกมาอีก เลี้ยงไว้ประมาณ 45-50วันก็ตัดไปใช้ได้
-          จากนั้นตัดต่ำรอให้แตกแขนงออกมาใหม่ เลี้ยงแขนงที่สมบูรณ์ไว้ 4 -5 แขนง ปล่อยให้เจริญเติบโตจนมี 3 ฉัตร แล้วจึงทำการตัดครั้งแรกซึ่งจะกระทำเช่นนี้ได้เรื่อยไป
-          ตั้งแต่เริ่มตัดยอดต้นกิ่งตา (เหลือ 75 ซม.) จนกระทั่งได้กิ่งตาเขียว จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน การตัดกิ่งตาวิธีนี้เมื่อตัดฉัตรที่ 3 แล้วก็ตัดฉัตรที่ 2 บังคับให้แตกกิ่งตาเขียวออกไปอีกจนกระทั่งถึงฉัตรที่ 1 จึงจะหมดการให้กิ่งตาเขียวสำหรับกิ่งแม่เพียงกิ่งเดียว  ซึ่งกิ่งแม่หนึ่งกิ่งจะตัดกิ่งตาเขียวได้ 3 รอบ ฉะนั้นต้นแม่พันธุ์ 1 ต้น จึงสามารถให้กิ่งตาเขียวได้มาก ประมาณ 20-40 กิ่ง ในหนึ่งฤดูกาลติดตาของแต่ละปีทีเดียว  กิ่งตาเขียวที่ตัดไปใช้แต้ละครั้ง จะนิยมตัดให้ยาวประมาณ 30-50 ซม. ซึ่งกิ่งตาแต่ละกิ่งมีตาที่สามารถใช้ติดตาได้ประมาณ 2-3 ตา หากต้องขนส่งกิ่งตาไปใช้ในที่ไกลๆ  ควรชุบปลายกิ่งตาทั้งสองข้างด้วยเทียนหรือขี้ผึ้ง และบรรจุกิ่งตาลงในลังซึ่งรองด้วยกาบกล้วยหรือวัสดุอื่น เช่น ฟางข้าวหรือขี้เลื่อยเป็นชั้นๆ แต่ฟางข้าวหรือขี้เลื่อยนั้นต้องชุบน้ำให้ชุ่มเสียก่อน
                อนึ่งลังที่บรรจุกิ่งตานั้น ควรเขียนชื่อพันธุ์ยางกำกับไว้ให้ชัดเจน และควรมีถุงพลาสติกหรือถุงปุ๋ยห้อหุ้มลังบรรจุกิ่งตาอีกชั้นหนึ่งด้วย เพราะจะช่วยให้กิ่งตาอยู่ได้นานขึ้น  กิ่งตาที่ตัดแล้วต้องรีบนำไปใช้ให้เร็วที่สุดแต่ถ้าใช้ไม่หมด หรือจำเป็นต้องเก็บไว้ควรตัดส่วนล่างที่ชุบเทียนหรือขี้ผึ้งออก แล้วตั้งกิ่งตาบนที่ร่ม เปลี่ยนน้ำทุกวัน วิธีนี้จะช่วยให้เก็บกิ่งตาไว้ได้นานประมาณ  7  วัน
                ลักษณะของกิ่งตาเขียวที่ดี
1.       สมบูรณ์ มีอายุประมาณ 45 -50 วัน ใบยอดแก่มีสีเขียวเข้ม ลอกตาง่าย
2.       มีตาที่ใช้ติดตาได้ เฉลี่ย 2 - 3  ตา
3.       กิ่งตาที่อยู่ในที่ร่มทึบหรือกิ่งที่อยู่ล่างๆ ไม่ควรนำไปใช้ติดตา เพราะลอกตายากหรือลอกไม่ออก
                4.    เลือกใช้เฉพาะตาก้านใบ  ไม่แนะนำให้ใช้ตาคิ้วในการติดตา

เครื่องมือที่ใช้ในการติดตา
                เครื่องมือที่ใช้ในการติดตาประกอบด้วย
1.       กล่องใส่เครื่องมือติดตา
2.       มีดติดตา
3.       ถุงพลาสติกสำหรับใส่กิ่งตา.       กรรไกรตัดกิ่ง
5.       พลาสติกพันตา  ขนาดกว้าง 5/8 นิ้ว หนาประมาณ 0.05 ม.ม.
6.       หินลับมีด
7.       ผ้าสำหรับทำความสะอาดต้นตอก่อนติดตา

วิธีการติดตาเขียว
1.       ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดต้นตอบริเวณที่จะติดตา  


 
          
                                        

2.ใช้มีดกรีดต้นตอส่วนที่มีสีน้ำตาลจากโคนต้นให้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ขึ้นไปข้างบนสองรอยยาวเท่ากัน รอยละประมาณ 7-8 ซม. ให้รอยทั้งสองนี้ห่างกันประมาณ 1 ซม. หรือ 1ใน 3 ของความยาวรอบลำต้น
กรีดทั้งสองที่ปลายสุดด้านบนให้ต่อถึงกัน จากนั้นค่อยๆ ลอกเปลือกต้นตอที่ตัดออกเบาๆ ลอกลงข้างล่างจนสุดรอยกรีดตัดเปลือกที่ดึงออกให้เหลือลิ้นสั้นๆ ประมาณ 0.5 -1 ซม.  ในขณะที่ลอกเปลือกระวังอย่าให้เปลือกขาด อย่าให้ดินหรือสิ่งสกปรกเข้าไปได้ เพราะจะทำให้เยื่อเสียและติดตาไม่ติด
               4. เตรียมแผ่นตาจากกิ่งตาเขียว สามารถปฏิบัติได้ 2  วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 โดยใช้มีดคมๆ ค่อยๆ เฉือนออก เริ่มจากด้านปลายไปหาโคนให้ติดเนื้อไม้บางๆ สม่ำเสมอตลอดแนว ยาวประมาณ 8-9 ซม. ให้มีตาอยู่ตรงกลางแผ่นความกว้างของแผ่นตาควรจะพอดีกับความกว้างของรอยกรีดเปลือกบนต้นตอหรือใหญ่กว่าเล็กน้อยการเฉือนแผ่นตาหนาเกินไปจะลอกยาก เนื่องจากแผ่นตาเขียวช้ำได้ง่าย  ฉะนั้น  ก่อนเฉือนตาต้องแน่ใจว่ามีดมีความคมและสะอาด  แต่งแผ่นตา 2 ข้าง บางๆ พอให้แผ่นตาเข้ากับรอยเปิดกรีดบนต้อตอได้ แล้วตัดปลายด้านล่างของแผ่นตาออก  ลอกแผ่นตาออกจากเนื้อไม้ โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้าง จับปลายด้านบนของแผ่นตา  ใช้นิ้วกลางประคองแผ่นตาส่วนล่างค่อยๆ ลอกเนื้อไม้ออกจากเปลือกแผ่นตา พยายามอย่าให้ส่วนที่เป็นเปลือกเกิดการโค้งงอ

               
 
                            วิธีที่ 2  กรีดรอบแผ่นตาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ใช้ปลายมีดสอดด้านล่างแล้วลอกแผ่นตาขึ้นด้านบนจนถึงโคนก้านใบ  ระวังอย่าให้แผ่นตาแตกร้าว  มือข้างหนึ่งจับกิ่งตาให้แน่น  ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับก้านใบบิดไปด้านข้างให้แผ่นตาหลุดออก  ตัดแต่งปลายด้านล่างให้สวยงาม  ระวังอย่าให้แผ่นตาด้านในสัมผัสกับสิ่งใด  แผ่นตาที่สามารถนำไปติดได้  จุดกำเนิดยอดใหม่ด้านในที่เรียกว่า  เม็ดข้าวสาร  จะต้องคงสภาพสมบูรณ์อยู่

                5. รีบสอดแผ่นตาที่ลอกเนื้อไม้ออกแล้วนี้ ลงในลิ้นเปลือกของต้นตอเบาๆ ค่อยๆ แนบแผ่นตาเข้ากับรอยเปิดของต้นตอ พยายามอย่าให้แผ่นตาถูกับเนื้อไม้  เพราะจะทำให้เยื่อเจริญช้ำ ก่อนใส่แผ่นตาต้องดูให้แน่เสียก่อนว่าตาอยู่ในตำแหน่งถูกต้อง คือ อยู่ด้านบนของรอยก้านใบ
               
6.ใช้พลาสติกใสยาวประมาณ 12 นิ้ว พันจากด้านล่างสุดโดยเริ่มพันต่ำกว่าลิ้นเล็กน้อย พันขึ้นข้างบนเบาๆ พันให้แน่น แต่ละรอบที่พันต้องให้ส่วนของพลาสติกทับกันพันขึ้นไปประมาณครึ่งหนึ่งของแผ่นตาแล้วหยุดไว้ชั่วขณะใช้มีดตัดส่วนเกินของเปลือกตาด้านบนออกให้พอดีกับรอยเปิดของต้นตอและพันต่อจนเลยแผ่นตาไปสัก 2-3 รอบแล้วจึงทำเงื่อนผูกให้แน่น ตรวจดูรอยพันอีกกครั้งว่าแต่ละรอบแผ่นพลาสติกพันทับกันแน่นดีหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อกันน้ำไหลเข้าสู่แผ่นตาเมื่อฝนตก      

7. หลังจากติดตาแล้ว 21 วัน ถ้าแผ่นตายังเขียวและสดอยู่ แสดงว่าการติดตาประสบผลสำเร็จ ถ้าการติดตาไม่ประสบผลสำเร็จ คือ หลังจากติดตาแล้ว 2 วัน แผ่นตาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลให้ใช้มีดกรีดพลาสติกทางด้านแผ่นตาที่ติดนั้นออกแล้วทำการติดตาซ้ำอีกครั้งทางด้านตรงข้าม

    .เมื่อตาติดแล้ว ใช้มีดกรีดแผ่นพลาสติกออก  โดยกรีดด้านตรงข้ามกับแผ่นตาในแนวดิ่ง ปล่อยให้ต้นตอที่ติดตาแล้วอยู่ในแปลงเรื่อยไปจนกว่าจะถึงเวลานำไปปลูก จึงถอนต้นขึ้นมาเพื่อทำการปักชำ
ข้อควรคำนึงในการติดตาเขียว
-          การติดตาเขียวควรทำในเวลาที่มีอากาศไม่ร้อนจัด เช่น ช่วงเช้าหรือเย็น
-          กิ่งตาที่นำไปติดตาแต่ละครั้งไม่ควรมากเกิน 30 กิ่ง เพราะถ้านำไปมากเกิน จะทำให้กิ่งตาแห้ง และควรเป็นกิ่งตาที่สมบูรณ์ เปลือกลอกง่าย
-          เลือกติดตาเฉพาะต้นตอที่สมบูรณ์เปลือกลอกง่าย และได้ขนาดเท่านั้น
-          มีดที่ใช้ติดตาจะต้องคมอยู่เสมอ
การปักชำ
                ปกตินิยมปักชำประมาณเดือนมกราคม  เพื่อให้ได้ยางชำถุง 2 ฉัตร ใบยอดแก่เต็มที่  พร้อมนำไปปลูกในต้นฤดูฝน (พฤษภาคม มิถุนายน) โดยมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
                1. จัดทำเรือนเพาะชำ  มุงด้วยวัสดุพรางแสงไม่น้อยกว่า 50%   พร้อมระบบน้ำ
2. เตรียมถุงชำ (4.5 X 14 นิ้ว) บรรจุด้วยดินค่อนข้างเหนียวให้เต็มแน่น ระดับดินต่ำกว่าปากถุงไม่เกิน 1 นิ้ว  จัดเรียงในคอกให้พร้อม  เพียงพอกับจำนวนที่จะปักชำ
3. รดน้ำแปลงติดตาให้ชุ่มก่อนถอนต้น 2 3 วัน
4. ทำการถอนต้นตอตา 

30


                5. ตัดยอดต้นตอเหนือรอยติดตาประมาณ 8 ซม. โดยตัดให้เฉียงลงไปทางด้านตรงข้ามแผ่นตา 
6. ตัดแต่งรากแขนงเดิมออกให้หมด โดยตัดให้ชิดรากแก้ว
               
                                
                7. ตัดรากแก้ว  โดยตัดต่ำกว่ารอยระดับดินลงไปประมาณ 20 ซม.

8. ต้นตอตาที่พร้อมนำไปปักชำ  กรีดพลาสติกพันตาออก โดยกรีดด้านหลังแผ่นตาตามแนวยาวของต้น
                                                                                                                           
       9. ต้นตอตาที่ถอนแล้ว ควรปักชำให้แล้วเสร็จภายในวันเดียวกัน  แต่หากไม่สามารถปฏิบัติได้  ควรห่อหุ้มหรือคลุมด้วยกระสอบป่าน รดน้ำให้ชุ่มชื้น เพื่อป้องกันการเหี่ยวเฉา                10.. ก่อนปักชำรดน้ำถุงดินให้ชุ่ม  จนดินในถุงอ่อนนุ่มทั้งถุง  อาจใช้วิธีแช่ถุงดินในอ่างน้ำแล้วปักต้นตอตาก่อน  จึงนำไปเรียงในคอกก็ได้  การปักให้ปักลงกึ่งกลางถุงลึกจนถึงรอยระดับดินที่ต้นตอตา  หันตาไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการย้ายถุง 
การดูแลรักษาหลังปักชำ
                1. รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ  วันละ 2  ครั้ง  เช้าเย็น
                2. ประมาณ  2  สัปดาห์หลังปักชำ  ต้นตอตาจะเริ่มแตกยอดจากแผ่นตาที่ติดใหม่ 
                3. หมั่นเฉือนยอดที่แตกออกมาจากต้นตอทิ้ง  ซึ่งมักจะแทงออกมาคู่กันในด้านตรงข้ามเสมอ  ดังนั้น  หากพบว่ามียอดแทงออกมาด้านหนึ่งแล้วให้เฉือนตาด้านตรงข้ามทิ้งไปด้วย  เพื่อไม่เสียเวลาต้องกลับมาเฉือนด้านตรงข้ามอีกเมื่อตาแทงออกมาใหม่อีก
                                                                         

                        4. ระยะใบอ่อนควรระวังการระบาดของเชื้อรา  ซึ่งอาจป้องกันโดยการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราก็ได้  หรือหมั่นตรวจแปลงอยู่เสมอเมื่อพบเห็นจึงทำการฉีดพ่น
                5. เมื่อใบอ่อนเริ่มคลี่สามารถใส่ปุ๋ยเคมีบำรุงต้นได้  แต่ใส่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น  โดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 20 10 - 12  ถุงละ  ปลายหยิบมือ (ประมาณ 5 10 เม็ด)
                6. เมื่อถึงฤดูปลูก  คัดเลือกต้นที่ใบยอดแก่เต็มที่ออกปลูก  ก่อนปลูกงดน้ำ       3 5 วันให้ดินในถุงแข็งตัว  ป้องกันการแตกระหว่างขนส่ง  และเป็นการกระตุ้นเตือนต้นยางชะลอการเจริญเติบโต ลดอัตราการคายน้ำ  ช่วยให้ต้นยางรอดตายมากขึ้น