การลดต้นทุนการปลูก


เห็นผลรวดเร็วหลังการใช้ ต้นยางสมบูรณ์แข็งแรง น้ำยางเพิ่มขึ้น แก้โรคยางตายนึ่ง ยืนต้นตาย ฯลฯ เพิ่มคุณภาพของผลผลิต และแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมของโรงงานยาง
การทำสวนยางพาราให้รวยด้วยโบกาฉิ
การทำสวนยางพาราแบบเกษตรธรรมชาติ เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนให้กับชาวสวนยางได้
ปุ๋ยโบกาฉิสูตรพิเศษโตตโต้ มีอาหารที่เป็นประโยชน์แก่พืชครบถ้วน อีกทั้งยังมุ่งเน้นการปรับปรุงโครงสร้างดิน เพราะมีจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพกว่า 80 ชนิด จึงสามารถปรับสภาพดินที่แข็ง แน่น ไม่ซึมน้ำ เป็นกรด หรือเค็มเกินไป ทำให้เห็นผลรวดเร็วหลังการใช้ พืชสมบูรณ์แข็งแรง และได้น้ำยางเพิ่มขึ้นในระยะยาว นอกจากนี้ สุขภาพของชาวสวนที่ทำเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ ก็ย่อมจะดีกว่าผู้ที่ใช้สารเคมีแน่นอนด้วยนะคะ
ผลจากการใช้ โตตโต้
  1. ใบร่วงช้า มีภูมิต้านทานดีขึ้น ต้นยางจะทนทานต่อสภาพฝนกรด รากเน่า โคนเน่า เสี้ยนดำ ต้นสมบูรณ์แข็งแรง ยืดอายุการกรีดยาง
  2. ผลผลิตน้ำยางเพิ่มปริมาณมากขึ้น หน้ายางไม่เป็นเชื้อรา เก็บรักษาได้นานขึ้น หน้ายางนิ่ม รักษาหน้ายาง
  3. ระบบรากดีขึ้น ทั้งรากฝอย รากขนอ่อน รากยางจะขึ้นมาบนผิวดินเห็นเป็นสีขาว ใต้ใบไม้ที่คลุมดิน เมื่อมีรากเพิ่มมากขึ้น ก็จะหาอาหารเก่งขึ้นต้นก็จะสมบูรณ์ขึ้น มีจุลินทรีย์กลุ่มดีกว่า 80 ชนิดลงไปทำงานในดิน ทำให้ดินดีขึ้น
  4. เพิ่มอินทรีย์วัตถุล้วนๆกว่า10ชนิด เพราะโบกาฉิโตตโต้ไม่มีดินผสม พร้อมให้ธาตุอาหารครบถ้วน และจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย รากดูดไปใช้ได้ง่าย ไม่ว่าจะใช้ปุ๋ยอะไรอยู่ก็สามารถปรับเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยโบกาฉิ (ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ) แทนหรือใช้เสริมไปด้วยกันได้ทันที
  5. ส่งเสริมให้มีจุลชีพในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดิน จะเห็นได้ชัดจากมูลไส้เดือนที่ขึ้นเต็มสวน แสดงว่ามีไส้เดือนและสิ่งมีชีวิตอื่นอีกมากมายอาศัยอยู่นั่นคือดินมีชีวิต โครงสร้างดินร่วนซุย อุ้มอาหารและน้ำ
  6. แก้ปัญหายางตายนึ่ง (ใส่โบกาฉิ และ ฉีดพ่นฮอร์โมนเดือนละ 2-3 ครั้ง)
  7. สภาพแวดล้อมโดยรวมดีขึ้น และกำจัดกลิ่นเหม็นในน้ำยางที่เททิ้ง คนงาน – เจ้าของสวนมีสุขภาพดีขึ้น
เตรียมหลุม / เตรียมดิน ก่อนปลูก แทนการใช้เคมี



  1. ขุดหลุมขนาดตามความเหมาะสม ใส่ อินทรียวัตถุที่หาได้ง่าย เช่น ฟาง ใบไม้แห้ง มูลสัตว์ เศษอาหาร ฯลฯ 4-5 กำมือ (เพื่อลดต้นทุน และเป็นอาหารพืชในระยะยาว) หว่านปุ๋ยโบกาฉิสูตรรองพื้น 2 กำมือทับลงไป
  2. ใช้สารปรับปรุงดิน 1 กก. + สุโตจู้ S.T. สูตร4 500 ซีซี แช่น้ำ 200-500 ลิตร 1 คืน ฉีดพ่นบนวัสดุให้ทั่ว ข้อควรระวัง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด ควรใช้ถังที่สะอาด , ขณะเก็บปิดฝาให้สนิทและไม่ถูกความร้อน ควรใช้ให้หมดภายใน 1-2วัน * อัตราความเข้มข้นนี้ ห้ามฉีดพ่น ถูก ต้นและใบพืชที่ปลูก* ในการผสมสารปรับปรุงดินฉีดพ่น ควรเปิดหัวฉีดให้น้ำ ออกสะดวก อาจใช้สายยางฉีดโดยไม่ใส่หัวพ่นจะทำให้หัวพ่นไม่อุดตันเนื่องจากวัสดุหลายชนิด ในสารปรับปรุงดินจะต้องใช้เวลาในการย่อยสลายในแปลงปลูกพืช กากตะกอนในสารปรับปรุงดินเป็นอาหารพืช ใช้ผสมน้ำ แล้วรดราดในนา หรือ ใส่เป็นปุ๋ยให้พืช (สามารถใช้สารปรับปรุงดินและสุโตจู้อัตราส่วนนี้ ฉีดพ่นเพื่อนปรับสภาพดิน ปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้พืชเจริญเติบโตได้ดีด้วย ฉีดพ่นลงดินให้ทั่วพื้นที่เท่านั้น ห้ามโดนต้น-ใบพืชที่ปลูก)
  3. กลบดิน แล้วคลุมหลุมปลูกด้วยฟาง 7 วัน ( รดน้ำให้ดินชุ่มชื้นทุกวัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของจุลินทรีย์ ) จึงปลูกกล้าได้
หรือใช้วิธีการหมักหน้าดิน แนะนำสำหรับพื้นที่ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์เป็นดินดำมีอาหารอยู่มากและร่วนซุยอยู่แล้ว
  1. ใช้ไม้ปักทำเครื่องหมายตำแหน่งที่จะปลูก กำจัดวัชพืชรอบตำแหน่งด้วยการถากถาง
  2. หว่านปุ๋ยโบกาฉิ บริเวณรอบๆไม้ที่ปักให้กระจายทั่วๆรัศมี 1–2 ฟุต 1-2 กำมือ แล้วคลุมฟางหรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันหญ้าขึ้น
  3. ใช้สารปรับปรุงดิน 1 กก. + สุโตจู้ S.T. (สูตร4) 500 ซีซี ผสมน้ำแช่ค้างคืน แล้วขยายเป็น 500 ลิตร (เหมือนข้อ1 ในวิธีเตรียมหลุมก่อนปลูก) รดบนวัสดุที่คลุมดิน ทิ้งไว้ 7-15 วันจึงปลูกยางได้ ในระหว่างรอปลูก ดินที่หมักควรมีความชื้นเสมอเพื่อให้จุลินทรีย์ทำงานได้



วิธีที่ดีที่สุด ทำให้พืชที่ปลูกแข็งแรงและโตเร็ว คือวิธีหมักหลุม แต่หากไม่สามารถทำได้ ให้ใส่ปุ๋ยรองก้อนหลุมสำหรับปลูก (โดยไม่หมักหลุม)ประมาณ 1 กำมือ กลบดินค่อนหลุม อัดดินให้แน่นแล้วจึงปลูกกล้า อย่าให้รากสัมผัสปุ๋ยโดยตรง จะทำให้สำลักปุ๋ย และเฉาตายได้
การใส่โบกาฉิ และใช้ฮอร์โมนรักษาหน้ายาง รวมทั้งป้องกันและรักษาโรค
  1. ยางพาราอายุ 1-3 ปี ใส่โบกาฉิ ปีละ 2-3 ครั้ง ครั้งละครึ่งกิโลกรัมสำหรับ 1 ต้น หว่านบางๆรอบทรงพุ่ม
  2. ต้นยางอายุขึ้นปีที่ 4 จนกระทั่งกรีดได้ ใส่โบกาฉิ ปีละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 1 กก. หรือมากกว่านั้น (ตามสภาพดิน)
  3. สวนยางที่กรีดได้แล้ว ใช้โบกาฉิปีละ 2-3 ครั้ง โดยเฉลี่ยต้นละ 1.5 กก. ใส่โบกาฉิในระยะก่อนใบยางจะร่วงผลัดใบ และ ช่วงฝนตก หว่านทั่วทั้งสวนหรือรอบทรงพุ่มก็ได้ “ใส่น้อยๆ แต่บ่อยครั้งดีกว่าใส่มากๆครั้งเดียว”
  4. ฉีดพ่น หรือทาหน้ายางสม่ำเสมอ ด้วยสุโตจู้ S.T.สูตร4 อัตราส่วน 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร จะช่วยรักษาแผลให้หายเร็ว สะดวกสบายไม่ต้องใช้ดินทาหน้ายาง ไม่ต้องใช้ยากันรา หน้ายางจะไม่เป็นโรคการสร้างเนื้อเยื่อและสร้างเปลือกจะดีขึ้น แผลจะสวย
  5. บำรุงต้นยางและป้องกันโรค ฉีดพ่นอาหารพืช (สูตร1+สูตร3) และสุโตจู้ S.T. สูตร4 เดือนละ 1 ครั้ง โดยผสมอัตราส่วน 3 สูตรรวมกันเป็น 200ซีซี : น้ำ 200 ลิตร ฉีดได้ทุกพื้นที่ในสวนยาง หากต้นยางเป็นโรคอยู่ในเดือนแรกๆ ควรฉีดพ่นอย่างสม่ำเสมอเดือนละ 2-3ครั้ง โรคจะค่อยๆหายไป การใช้สุโตจู้ สูตร4 สม่ำเสมอจะช่วยป้องกัน และรักษาโรคทุกชนิดในสวนยาง เช่น โรคยางตายนึ่ง ยืนต้นตาย เสี้ยนดำ
  6. แช่ล้างแผ่นยางก่อนนำผึ่งแดด ใช้สุโตจู้ S.T. สูตร4 อัตราส่วน 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร จะช่วยให้ยางไม่ขึ้นรา น้ำทิ้งซึ่งมีสุโตจู้ผสมอยู่เทลงในท้องร่อง จะช่วยปรับสภาพแวดล้อม และกำจัดกลิ่นเหม็นในน้ำยางที่เททิ้งด้วย หรือนำไปใช้ฉีดพ่นทุกพื้นที่ที่มีกลิ่นเหม็นเพื่อดับกลิ่นและฆ่าเชื้อโรคได้ด้วย

**คำเตือน วิธีผสมฮอร์โมนน้ำ สามารถปรับขึ้น/ลงได้ตามอัตราส่วน แต่ห้ามใช้เกินขนาดเพราะมีฤทธิ์เข้มข้นมาก ห้ามแถม (ใส่เกินอัตราส่วน)
การกำจัดวัชพืช

วัชพืชที่มีปัญหากับสวนยาง เช่น หญ้าคา ฯลฯ ก่อนปลูกควรปราบให้หมดชนิดขุดรากถอนโคน และอาจปลูกถั่วคลุมคา ป้องกันหญ้าขึ้นอีก นอกจากนั้นการกำจัดวัชพืชอื่นๆ ให้ใช้วิธีการตัดและฉีดพ่น สุโตจู้ สูตร4 และสารปรับปรุงดินแช่น้ำค้างคืน ฉีดพ่น ไม่ต้องเผาหญ้า ทิ้งหญ้าเหล่านั้นไว้คลุมดินในสวน บริเวณใต้ร่มยางให้เป็นอาหารหรือปุ๋ยของพืช

แต่ก่อนนี้ถั่วคลุมคาจะมีมากทางภาคใต้ แต่ปัจจุบันมีผู้นำไปปลูกเพื่อคลุมดินในสวนยางในจังหวัดอื่นๆ ท่านใดทำสวนยางอยู่ที่ภาคอื่นๆ ก็ลองไปหามาปลูกกันได้
การเพิ่มคุณภาพยาง และ แก้ไขสภาพแวดล้อมของโรงงานยาง
  1. ฉีดพ่นอาหารพืชและสารไล่แมลง S.T. เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันโรคและแมลง โดยผสมอัตราส่วน 1 ลิตร : น้ำ 1000 ลิตร ฉีดได้ทุกพื้นที่ในสวนยาง
  2. นำ S.T. (ฝาเขียว) ผสมอัตราส่วน 1 ลิตร : น้ำ 1000 ลิตร แช่ล้างแผ่นยางก่อนนำผึ่งแดด จะช่วยให้ยางไม่ขึ้นรา น้ำทิ้งซึ่งมี S.T. ผสมอยู่เทลงในท้องร่อง จะช่วยปรับสภาพแวดล้อม และกำจัดกลิ่นเหม็นในน้ำยางที่เททิ้งด้วย
  3. ใช้ S.T. (ฝาเขียว) ผสมอัตราส่วน 1 ลิตร : น้ำ 1000 ลิตร ฉีดพ่นทุกพื้นที่ที่มีกลิ่นเหม็นเพื่อดับกลิ่น หรือฆ่าเชื้อโรคได้
  4. กองขี้ยางที่มีกลิ่นมากใช้ S.T. 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 - 1000 ลิตร ฉีดพ่นประมาณ 2 วัน / ครั้ง แล้วแต่ความรุนแรงของกลิ่น จะสามารถกำจัดกลิ่นได้ดี